• ธปท.ชี้กรณีเลวร้ายปีนี้เศรษฐกิจไทยติดลบ 1.7% - กนง. ประเมินจุดเสี่ยงเศรษฐกิจไทย

    9 เมษายน 2564 | Economic News
 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยรายงานนโยบายการเงิน ฉบับเดือนมีนาคม 2564 โดยระบุว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ประเมินภาพเศรษฐกิจไทยโดยรวมว่า มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องในปี 2564 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนและมีความเสี่ยงที่จะต่ำกว่าประมาณการการขยายตัวที่3% ในปีนี้จาก

1.การทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยอาจล่าช้าออกไป เนื่องจากข้อจำกัดในการกระจายวัคซีนป้องกันโควิด

2.แรงกระตุ้นจากภาครัฐอาจน้อยกว่าคาด หากการอนุมัติโครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฯ ที่เหลือล่าช้า

3.ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจอาจได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการ ทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจและแรงงานจะกลับมาฟื้นตัวได้ช้าแม้การระบาดสิ้นสุดลง

4.อัตราการผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนอาจเพิ่มสูงขึ้นมากหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง

ทั้งนี้ กนง. วิเคราะห์ภาพข้างหน้าในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้า (scenario analysis) ที่ขึ้นกับการกลับมาของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ โดยแบ่งเป็น กรณี ได้แก่ กรณีฐาน กรณีเลวร้าย และกรณีเลวร้ายที่สุด โดยในปี 2564 ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจอยู่ในช่วง แสนคนถึง ล้านคน ส่งผลให้ประมาณการเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างติดลบ 1.7% ถึงขยายตัวร้อยละ 3% และในปี 2565 ประเมินว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติอาจอยู่ในช่วง แสนคนถึง 21.5 ล้านคน ส่งผลให้ประมาณการเศรษฐกิจไทยอยู่ระหว่างติดลบ 0.3% ถึงขยายตัว 4.7%.


กนง. ประเมินจุดเสี่ยงเศรษฐกิจไทย ห่วงฐานะการเงิน ธุรกิจ-ครัวเรือน

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยแพร่รายงาน กนง. ประเมินจุดเสี่ยงเศรษฐกิจไทย ห่วงฐานะการเงิน ธุรกิจ-ครัวเรือน

วันที่ 7 เมษายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เผยแพร่รายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (ฉบับย่อ) ครั้งที่ 2/2564 ที่ประชุมเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 2564 โดยคณะกรรมการฯ ประเมินว่า ในระยะข้างหน้าประมาณการเศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่จะขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากหลายปัจจัย ได้แก่

(1) การเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติของไทยที่อาจล่าช้าจากข้อจำกัดในการกระจายวัคซีนป้องกัน COVID-19 เช่น ความเพียงพอของวัคซีน ความกังวลของประชาชนในการฉีดวัคซีน และการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส

(2) แรงกระตุ้นจากภาครัฐอาจน้อยกว่าคาด หากมีความล่าช้าในการอนุมัติโครงการภายใต้ พ.ร.ก. กู้เงินฯ ที่เหลือ ซึ่งมีกำหนดสิ้นสุดลงในไตรมาสที่ 3 ปี 2564

(3) ฐานะทางการเงินของภาคธุรกิจที่อาจได้รับผลกระทบจนต้องปิดกิจการ ทำให้จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น โดยธุรกิจและแรงงานจะกลับมาฟื้นตัวช้าแม้การระบาดสิ้นสุดลง (scarring effects)

(4) การผิดนัดชำระหนี้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนที่อาจสูงขึ้นมากภายหลังมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้สิ้นสุดลง


นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในระยะสั้นมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าและมีความแตกต่างกันมากขึ้นระหว่างภาคเศรษฐกิจ (uneven recovery) ภาครัฐจึงควรออกแบบมาตรการให้ตรงจุดและเพียงพอ รวมทั้งเร่งดำเนินมาตรการเพื่อช่วยลด scarring effects ในระบบเศรษฐกิจ โดยควรเร่งแก้ปัญหาเรื่องฐานะทางการเงินของภาคเอกชนที่มีความเปราะบางมากขึ้น ภาระหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง

รวมถึงตลาดแรงงานที่ยังอ่อนแออยู่ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะต่อไป มาตรการการคลัง จึงควรเร่งเบิกจ่ายมาตรการเยียวยาและมาตรการพยุงเศรษฐกิจต่าง ๆ เพื่อรักษาความ ต่อเนื่องของแรงกระตุ้นภาครัฐ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับภาคครัวเรือน


มาตรการทางการเงินและสินเชื่อ ควรผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับโครงสร้างหนี้ทั้งของลูกหนี้รายย่อยและธุรกิจ รวมถึงเร่งกระจายสภาพคล่องให้ตรงจุดเพื่อช่วยลดภาระหนี้ของผู้ที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะการเร่งดำเนินมาตรการสนับสนุนการให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบธุรกิจ (สินเชื่อฟื้นฟู) และโครงการพักทรัพย์ พักหนี้ (asset warehousing)

ซึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือที่ (1) สร้างแรงจูงใจให้สถาบันการเงินส่งผ่านสภาพคล่องไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น ตรงจุด และสอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพของธุรกิจ

อีกทั้งการระบาดของ COVID-19 ยังอาจซ้ำเติมปัญหาเชิงโครงสร้างที่มีอยู่เดิม เช่น ปัญหาสังคมสูงวัย ความเหลื่อมล้ำของรายได้ให้เลวร้ายลง คณะกรรมการฯ จึงเน้นย้ำถึงความจำเป็นของการปฏิรูปเชิงโครงสร้างที่จะช่วยยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจของไทย

โดยเฉพาะการปรับรูปแบบการทำธุรกิจและพัฒนาทักษะแรงงาน (upskill/reskill) ให้สอดคล้องกับบริบทหลัง COVID-19 ซึ่งจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยให้ยั่งยืน และเพิ่มรายได้ประชาชนในระยะยาว ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจและครัวเรือนลดภาระหนี้สินได้เร็วยิ่งขึ้น


นอกจากนี้ คณะกรรมการฯ ยังได้อภิปรายเกี่ยวกับแนวทางการผสมผสานเครื่องมือเชิงนโยบายต่าง ๆ อย่างเหมาะสม (integrated policy) เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้นและการขยายตัวของเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนในระยะยาว โดยคณะกรรมการฯ เห็นว่า

(1) นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องและมาตรการการเงินการคลังที่ตรงจุดจะช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเอื้อให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเคลื่อนไหวกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย

(2) มาตรการดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน (macroprudential) และมาตรการกำกับดูแลรายสถาบันการเงิน (microprudential) จะมีความสำคัญอย่างยิ่งในภาวะที่อัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำเป็นเวลานาน (low for long) เพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง

(3) ภาครัฐควรเร่งผลักดันและเร่งดำเนินนโยบายเชิงโครงสร้างเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและยกระดับศักยภาพของเศรษฐกิจไทยในระยะยาว

 

ทึ่มาไทยรัฐ, ประชาชาติ

บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com