• สรุปข่าวราคาทองคำ (ภาคเช้า) ประจำวันที่ 5 เมษายน 2564

    5 เมษายน 2564 | Gold News




คาดการณ์ทองคำรายสัปดาห์
 - ทองคำยังมีแรงกดดันขาลง จับตา 1,745 เหรียญ

นักวิเคราะห์จาก FXStreet ระบุว่า ทองคำเปิดสัปดาห์ที่แล้วเผชิญแรงเทขายอย่างหนัก หลังจากหลุดระดับ 1,720 เหรียญลงมาทำต่ำสุด 1,678 เหรียญโดยประมาณ ก่อนจะดีดกลับได้จากแรงซื้อกลับมาแถว 1,730 เหรียญ

ภาพรวมสัปดาห์นี้ คาดว่าราคาทองคำจะค่อนข้างทรงตัว “รอคอยปัจจัยสำคัญต่างๆ” ที่จะส่งผลต่ออัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 10 ปี รวมไปถึงค่าเงินดอลลาร์ด้วย

ในวันนี้ ตลาดรอคอยข้อมูลจาก ISM ที่จะเปิดเผยดัชนี PMI ภาคบริการ ซึ่งหากออกมาดีกว่าคาดมีโอกาสหนุนดอลลาร์

สำหรับรายงานประชุมเฟดเดือนมี.ค. และถ้อยแถลงของประธานเฟด ก็เป็นสิ่งที่ตลาดให้ความสำคัญ หลังจากสมาชิกเฟด 4 ราย คาดโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีหน้า (2022) ตลาดจึงรอสัญญาณใหม่ๆที่อาจเกิดขึ้นได้เกี่ยวกับกรอบเวลาการกลับมาใช้นโยบายคุมเข้มทางการเงิน

 

·         Kitco Survey ชี้ ส่วนใหญ่มอง 1,750 เหรียญ เป็นระดับสำคัญที่จะสะท้อนถึงความเชื่อมั่นในระยะสั้น


ผลสำรวจล่าสุดจาก Kitco สะท้อนถึงผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่ในตลาด 41% มองทองขึ้น แต่ะ 44% มองทองลง ขณะที่นักลงทุนในตลาดกว่า 73มองโอกาสทองคำไปต่อได้

หัวหน้านักกลยุทธ์จาก SIA Wealth Management มองว่า ทองคำปรับลงทำต่ำสุดได้ในสัปดาห์ที่แล้ว จึงมีโอกาสเห็นแรง Technical  Rebound ขณธที่ทองคำระยะสั้นคาดน่าจะเป็นขาขึ้นได้และอาจไปทดสอบ 1,780 เหรียญในสัปดาห์นี้

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่มองว่าระยะสั้นทองคำจะกลับมาเป็นขาขึ้นได้ต้องรอดูแถวระดับแนวต้าน 1,756.1 เหรียญว่าจะสามารถ Break ไปได้หรือไม่ ท่ามกลางดอลลาร์ที่ยังบ่งชี้ถึงสภาวะแข็งค่าขึ้นได้ต่อ

บรรณาธิการจาก VR Metals/Resource Letter กล่าวว่า แม้ระยะสั้นจะมีสัญญาณเห็นทองคำปรับขึ้นได้ แต่ก็ต้องระวัง “การปรับฐาน” ของราคาทองคำยังไม่จบ

นักวิเคราะห์ทางเทคนิคจาก Futures Techs ระบุว่า ทองคำยังเป็นขาลง แม้จะเห็นสัญญาณการฟื้นตัวก็ตาม โดยจุด Double Bottom เห็นได้ถึงแรงซื้อที่อาจเข้ามาเมื่อราคาทำต่ำสุด ดังนั้น เราจึงต้องรอบทพิสูจน์ใหม่ของราคาทองคำที่ระดับ 1,754 เหรียญ

 

·         ดอลลาร์ทรงตัวในทิศทางแข็งค่า ท่ามกลางข้อมูลเศรษฐกิจที่ส่งสัญญาณแข็งแกร่งขึ้น

ข้อมูลแรงงานสหรัฐฯมีสัญญาณฟื้นตัวจากทีเผชิญกับวิกฤตไวรัสโคโรนา และอาจแข็งค่าได้ต่อ นำโดยดัชนีดอลลาร์ที่ขยับเพียงเล็กน้อย เช้านี้อยู่บริเวณ 92.973 จุด สำหรับค่าเงินเยนทรงตัว 110.63 เยน/ดอลลาร์ อยู่ไม่ห่างจากอ่อนค่ามากสุดของปีนี้

ค่าเงินยูโรทรงตัวบริเวณ 1.1765 ดอลลาร์/ยูโร ใกล้กับต่ำสุดรอบ 5 เดือน

ปอนด์อยู่ระดับ 1.3824 ดอลลาร์/ปอนด์  เช่นเดิม

รายงานจาก CFTC ชี้ว่า การทำสถานะ Short ในดอลลาร์ลดลงในสัปดาห์ที่ผ่านมาทำต่ำสุดตั้งแต่มิ.ย. ปีที่แล้ว ขณะที่ตลาดมีสัญญาณบวกมากขึ้น

 

·         รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานสหรัฐฯ เผย ไบเดนจะทำการผลักดันแผนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านเหรียญโดยปราศจากเสียงสนับสนุนของรีพับลิกัน

 

·         รายงานจ้างงานสหรัฐฯดีเกินคาดแตะ 916,000 ในเดือนมี.ค. เพิ่มมากขึ้นแตะ 916,000 ตำแหน่ง ขยายตัวได้รวดเร็วอย่างมากนับตั้งแต่ช่วง มี.ค. - พ.ค. ในปีที่แล้ว ขณะที่ข้อมูลอัตราว่างงานปรับลดลงมาแตะ 6%





·         สถานการณ์ไวรัสโคโรนาล่าสุดยังมีรายงานพบผู้ติดเชื้อใหม่ใน 70 ประเทศทั่วโลก โดยล่าสุดยอดติดเชื้อสะสมทั่วโลกอยู่ที่ 131.89 ล้านราย ด้านยอดเสียชีวิตสะสมแตะ 2.86 ล้านราย



สหรัฐฯยังเป็นอันดับหนึ่งที่มียอดสะสมรวมสูงกว่า 31.42 ล้านราย และยอดเสียชีวิตสะสมที่ 568,777 ราย

 

สถานการณ์การระบาดในไทย

วันศุกร์ พบผู้ติดเชื้อ 58 ราย

วันเสาร์ พบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 84 ราย เสียชีวิต 1 ราย

วันอาทิตย์ พบผู้ติดเชื้อ 96 ราย ยอดป่วยยืนยันสะสม 29,127 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดผู้เสียชีวิตสะสมคงเดิม 95 ราย

ขณะที่ภาพรวม 3 วันที่ผ่าน มียอดผู้ติดเชื้อสะสมเพิ่มขึ้น  238 ราย


·         รายงานยอดติดเชื้อตามภูมิภาคเพิ่มเยอะสุดทั่วโลกมาจากเอเชียและตะวันออกกลาง



·         อินเดียนำโด่งยอดติดเชื้อรายวันเฉลี่ยพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่ยอดติดเชื้อสะสมในแคนาดาพุ่งทะลุ 1 ล้านราย




·         ยอดติดเชื้อใหม่ในอินเดียพุ่งบางจังหวัดยังได้รับผลกระทบหนั ภาพรวมพบรายงานยอดติดเชื้อใหม่เฉลี่ย 7 วันสูงถึง 248,000 ราย และพบว่าค่าเฉลี่ยติดเชื้อใหม่สูงถึง 57% ของรายงานทั้งหมดสูงกว่าการระบาดก่อนหน้า นับตั้งแต่กลางเดือนก.พ. แต่ยอดเสียชีวิตยังอยู่ระดับต่ำ

 

·         สถานการณ์การฉีดวัคซีน Covid-19 ทั่วโลก พบ 153 ประเทศเดินหน้าโครงการฉีดวัคซีน โดยรวมแล้วฉีดวัคซีนไม่น้อยกว่า 648.86 ล้านโดส

 

·         สหรัฐฯ วางแผนจะรับผิดชอบการผลิตวัคซีน Covid-19 จากบริษัท Johnson & Johnson กว่า 15 ล้านโดส และถอนการใช้วัคซีน AstraZeneca

 

·         ออสเตรเลียยังเดินหน้าฉีดวัคซีน แม้ว่าจะพบรายงานความผิดปกติเรื่องลิ่มเลือด

 

·         โครงการฉีดวัคซีน Covid-19 ของยุโรปสะดุดจากปัญหาการเมือง ท่ามกลางความล่าช้าในการอนุมัติฉีดวัคซีน และปัญหาวัคซีนของ AstraZeneca ที่ทำให้การขนส่งล่าช้าออกไปมากยิ่งขึ้น

 

·         ฝรั่งเศสปรับลดคาดการณ์ทางเศรษฐกิจปีนี้คาดโตได้ 5% จากภาวะ Lockdown รอบ 3 ขณะที่คาดการณ์ก่อนหน้าอยู่ที่ 6%

 

·         ฮ่องกงสั่งระงับเที่ยวบินสิงคโปร์จนถึงกลางเดือนเม.ย. หลังพบผู้โดยสารติดเชื้อ Covid-19 เป็นจำนวน 3 ราย ของเที่ยวบินในวันที่ 31 มี.ค.ที่ผ่านมา

 

·         โคลอมเบียขยายมาตรการคุมเข้ม Covid-19 ท่ามกลางจำนวนยอดติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้น

 

·         อังกฤษเดินหน้ากำหนดแผนเดินทางครั้งใหม่ หลังโครงการฉีดวัคซีนทั่วโลกรุดหน้า

 

·         ญี่ปุ่นส่งสัญญาณเพิ่มงบประมาณพิเศษต่อสู้ Covid-19 ที่กระทบเศรษฐกิจ

·         Reuters เผย ภาคครัวเรือนชะลอตัว ท่ามกลางระดับหนี้พุ่งสูงเป็นประวัติการณ์ อันเนื่องจากการระบาดของ Covid-19

 

·         อิหร่านต้องการให้เกิดการยกเลิกคว่ำบาตรที่หมด และปฏิเสธการดำเนินการไปทีละขั้นตอนเพื่อบรรเทาสถานการณ์

 

·         น้ำมันดิบร่วงต่อหลัง OPEC เห็นพ้องทยอยผ่อนคลายข้อตกลงจำกัดการผลิตน้ำมันระหว่าง พ.ค. - ก.ค.

สัญญาน้ำมันดิบ Brent เปิดลง 16 เซนต์ หรือ -0.2บริเวณ 64.70 เหรียญ/บาร์เรล

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ปรับลง 13 เซนต์ หรือ -0.2% แถว 61.32 เหรียญ/บาร์เรล

น้ำมันดิบทั้งสองชนิดปรับขึ้นได้ก่อนประมาณ 2 เหรียญ หลังทราบการตัดสินใจของ OPEC+ ประกอบกับช่วงต้นตลาดมีมุมมองเชิงบวกของอุปสงค์น้ำมันน้ำมันเพิ่ม หลังจากที่นายไบเดนเผยแผนค่าใช้จ่ายโครงสร้างพื้นฐานมูลค่าสูงกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวอินโฟเควสท์

ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในสัปดาห์นี้ (5-9 เม.ย.) ไว้ที่ 31.00-31.50 บาท/ดอลลาร์

ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่
- สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก
- รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจโลกของ 
IMF
- ทิศทางบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ
- ถ้อยแถลงของประธานเฟด

ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่
- ดัชนี 
PMI และ ISM ภาคบริการเดือน มี.ค.
-  ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือน มี.ค.
- ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานเดือน ก.พ.
- จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์
- รายงานการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 16-17 มี.ค.
นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามดัชนี 
PMI ภาคบริการเดือน มี.ค.ของจีน ยูโรโซน และอังกฤษ รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตและดัชนีราคาผู้บริโภคเดือน มี.ค.ของจีนด้วยเช่นกัน

 

ทั้งนี้ เงินบาทแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบกว่า 5 เดือนครึ่งที่ 31.40 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทอ่อนค่าลงสวนทางเงินดอลลาร์ที่ได้รับแรงหนุนในฐานะสกุลเงินปลอดภัยท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับข่าวการผิดนัดชำระการเพิ่มเงินประกันของเฮดจ์ฟันด์รายหนึ่งในสหรัฐฯ ในช่วงต้นสัปดาห์ นอกจากนี้เงินดอลลาร์ยังมีปัจจัยบวกจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ซึ่งได้รับแรงหนุนเพิ่มเติมจากโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประธานาธิบดีโจ ไบเดน ขณะที่เงินบาทเผชิญแรงกดดันจากผลของการส่งกลับกำไรและเงินปันผลของบริษัทต่างชาติในช่วงก่อนสิ้นไตรมาส 1/64 ด้วยเช่นกัน

 

·         อ้างอิงจากสำนักข่าวประชาติธุรกิจ

อนุทิน” เผยโรดแมปฉีดวัคซีนโควิดถึงเดือน มิ.ย. ยันไทยมีวัคซีนเพียงพอ

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กถึงการจัดการและความมั่นคงด้านวัคซีน ยืนยันว่าไม่มีวัคซีนตกค้าง พร้อมปิดท้ายว่า ประเทศไทยมีโรงงานผลิตวัคซีนอยู่ในประเทศ ถือเป็นความมั่นคงด้านวัคซีน ข้อความดังนี้

เดือนเมษายนมีวัคซีนซิโนแวค 800,000 โดส ฉีดให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายตามนี้ ท่านที่ชอบถามว่า ทำไมฉีดได้น้อย ไม่ถึง 5 ล้านโดส 10 ล้านโดส ตามที่กระทรวงสาธารณสุขแถลงไว้ ขอได้โปรดเข้าใจด้วยว่า เดือนมีนาคมที่ผ่านมา ฉีดได้ 2 แสนโดส เพราะมีวัคซีนซิโนแวคแค่ 2 แสนโดส และแอสตร้าเซนเนก้า 1.17 แสนโดส ขณะนี้กำลังฉีดอยู่ เกือบจะหมดแล้ว

เดือนเมษายน ก็จะฉีดได้ 8 แสนโดส เพราะมีวัคซีนเท่านี้ ขอยืนยันว่า ไม่มีวัคซีนตกค้าง จนหมดอายุ เพราะวัคซีนมีอายุ 6 เดือน

เดือนพฤษภาคม จะฉีดวัคซีนซิโนแวคอีก 1 ล้านโดส จากนั้นเดือนมิถุนายนจะเริ่มฉีดวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า 5 ล้านโดส และเพิ่มเป็น 10 ล้านโดส ในเดือนถัด ๆ ไป ตามจำนวนวัคซีนที่ได้รับจากผู้ผลิต


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com