• สรุปข่าวเศรษฐกิจ (ภาคค่ำ) ประจำวันที่ 7 สิงหาคม 2563

    7 สิงหาคม 2563 | Economic News
 

· ดอลลาร์อ่อนค่าก่อนทราบ Non-Farm Payrolls

ดอลลาร์อ่อนค่าเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักส่วนใหญ่ ก่อนทราบข้อมูลจ้างงานสหรัฐฯคืนนี้ ท่ามกลางนักลงทุนที่กังวลว่าเศรษฐกิจอาจมีสัญญาณชะลอตัวมากขึ้น

ความเชื่อมั่นในค่าเงินดอลลาร์มาจากจำนวนยอดติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯที่ปรับลง ขณะที่สหรัฐฯก็ยังปราศจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม

นักวิเคราะห์หลายราย ระบุว่า ดอลลาร์ยังปรับลงอ่อนค่าลงโดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่าเงินยูโร, เงินเยน และสวิสฟรังก์ จากการคาดการณ์ทิศทางเศรษฐกิจที่เป็นลักษณะ V-shaped จากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ค่าเงินยูโรทรงตัวที่ 1.1874 ดอลลาร์/ยูโร หลังดอลลาร์ยังเคลื่อนไหวใกล้ระดับอ่อนค่ามากสุดรอบ 2 ปี บริเวณ 92.816 จุด

เงินปอนด์อยู่ที่ 1.3140 ดอลลาร์/ปอนด์ ทรงตัวใกล้ระดับแข็งค่ามากสุดตั้งแต่มี.ค.

เงินเยนทรงตัวที่ 105.6 เยน/ดอลลาร์ โดยยังอยู่ไม่ห่างจากต่ำสุดรอบ 4 เดือน

ข้อมูลจ้างงานรัฐบาลสหรัฐฯถูกคาดว่าจะได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรนาในสหรัฐฯ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯอายุ 5 ปี ทำ All-Time Low อย่างต่อเนื่อง ขณะที่ผลตอบแทนอายุ 10 ปี ร่วงลงทำต่ำสุดครั้งที่ 2 จึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กดดันดอลลาร์

พรรครีพับลิกันและเดโมแครตยังอยู่ห่างจากการบรรลุข้อตกลงร่วมกัน ขณะที่นักลงทุนหลายๆรายกล่าวว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมาช่วยปกป้องเศรษฐกิจจากการปรับตัวลดลง


· อัตราผลตอบแทนพันธบัตรสหรัฐฯปรับลดลง ก่อนการประกาศข้อมูลภาคแรงงานและการเจรจาเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯอายุ 10 ปีปรับตัวลดลงมาบริเวณ 0.5198% ขณะที่อัตราผลตอบแทนอายุ 30 ปี ปรับลงมาที่ 1.1776%


· ทรัมป์ลงนามแบน Wechat และ TikTok หนุนตึงเครียดสหรัฐฯและจีน

นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ มีการลงนามคำสั่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ สั่งห้ามชาวสหรัฐฯทำธุรกิจกับ TikTok และ Wechat โดยให้เหตุผลด้านความมั่นคงแห่งชาติ คำสั่งดังกล่าวจะมีผลภายใน 45 วันข้างหน้า ซึ่งเหตุผลที่แบนแอปฯ จากจีนเป็นเพราะเหตุฉุกเฉินแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่อุปทานบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร


· อุปสงค์พลังงานจีนหนุนส่งออกเยอรมนี ภาคการผลิตรีบาวน์

ภาพรวมอุปสงค์การส่งออกโดยเฉพาะจากจีนปรับตัวขึ้น และได้ช่วยให้กลุ่มผู้ผลิตในเยอรมนีนั้นฟื้นตัวได้จากภาวะการเผชิญการ Lockdown ไวรัสโคโรนาเป็นเดือนที่ 2 ต่อจากเดือนมิ.ย.

ทั้งนี้ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเยอรมนีเติบโตขึ้นที่ระดับ 8.9% ในเดือนก.ค. ขณะที่การส่งออกเพิ่มขึ้นมาที่ 14.9% ซึ่งถือเป็นระดับรายเดือนที่เพิ่มมากสุดในรอบเกือบ 30 ปี

ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์มีการผลิตเพิ่มขึ้นมากถึง 54.7% สูงสุดเป็ฯประวัติการณ์ในเดือนที่ผ่านมา แม้ว่าริมาณจะยังอยู่น้อยกว่าเดือนก.พ. 20%


· ส่งออกจีนเดือนก.ค.ปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในรอบ 7 เดือน แต่การนำเข้าลดลง

ยอดการส่งออกในเดือนก.ค.เพิ่มขึ้น 7.2% จากปีก่อนหน้า ซึ่งถือเป็นการเติบโตที่เร็วที่สุด จากที่คาดการณ์ว่าจะลดลง 0.2% และเติบโตอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับเดือนมิ.ย.ที่มีการเติบโต 0.5%

ภาพรวมของเศรษฐกิจจีน ที่กำลังฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยจากการระบาดของไวรัสโคโรนา

ขณะที่ ยอดการนำเข้าของจีนปรับลดลง 1.4 % จากที่คาดว่าจะโต 1.0% ขณะที่ยอดเกินดุลการค้าของจีน ในเดือนก.ค.อยู่ที่ 62,330 ล้านดอลลาร์เหรียญ สูงกว่าคาดการณ์ที่คาดว่าจะเกินดุลเพียง 42,000 ล้านเหรียญ และสูงกว่ายอดเกินดุลในเดือนมิ.ย. ที่มียอดเกินดุล 46,420 ล้านเหรียญ


· โพลล์จาก Reuters คาด จีดีพีไตรมาส 2 ของญี่ปุ่นหดตัวมากที่สุดเป็นประวัติการณ์จากวิกฤตไวรัสโคโรนา

ผลสำรวจของ Reuters แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจของญี่ปุ่นในไตรมาสสองมีแนวโน้มที่จะหดตัวลงอย่างรวดเร็วที่สุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจและการใช้จ่ายของผู้บริโภค

พร้อมทั้ง คาดว่า จีดีพีญี่ปุ่นในไตรมาสสองจะหดตัวลง 27.2% ซึ่งเป็นการหดตัวรายไตรมาสที่สามติดต่อกันและเป็นการลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ นับตั้งแต่มีข้อมูลเปรียบเทียบในปี 1980


· การใช้จ่ายภาคครัวเรือนญี่ปุ่นประจำเดือนมิ.ย.ลดลง 1.2% เมื่อเทียบรายปี

การใช้จ่ายภาคครัวเรือนในเดือนมิ.ย.ปรับตัวลง 1.2% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว และเป็นการทำสถิติปรับตัวลง 9 เดือนติดต่อกัน โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวเป็นการปรับตัวดีขึ้นจากเดือนพ.ค.ซึ่งการใช้จ่ายในภาคครัวเรือนทำสถิติร่วงลงถึง 16.2% ซึ่งเป็นการดิ่งลงหนักสุดเป็นประวัติการณ์นับแต่เริ่มเผยแพร่ข้อมูลครั้งแรกในเดือนม.ค. 2011


· ราคาน้ำมันดิบร่วงจากความไม่แน่นอนของอุปสงค์พลังงาน, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

วันนี้ราคาน้ำมันปรับตัวลงต่อจากที่ปิดร่วงลงเมื่อวานนี้ ท่ามกลาง ความกังวลที่ว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์พลังงานจะชะลอตัวท่ามกลางยอดผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาที่เพิ่มขึ้นและการเจรจาได้หยุดชะงักของสหรัฐฯเกี่ยวกับข้อตกลงกระตุ้นเศรษฐกิจฉบับใหม่

น้ำมันดิบ WTI ปรับลดลง 17 เซนต์ หรือ -0.41% ที่ระดับ 41.78 เหรียญ/บาร์เรล ในขณะที่น้ำมันดิบ Brent ปรับลง 17 เซนต์ หรือ -0.38% ที่ระดับ 44.92 เหรียญ/บาร์เรล

อย่างไรก็ดี น้ำมันดิบทั้ง 2 สัปดาห์ปรับขึ้นได้ราว 4% และเป็นการปรับขึ้นมากที่สุดนับตั้งแต่สัปดาห์ที่ปิด 3 ก.ค.

นักวิเคราะห์กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของยอดการติดเชื้อไวรัสโคโรนายังคงเป็นประเด็นสำคัญสำหรับตลาดน้ำมันเนื่องจากจะเป็นตัวกำหนดว่าความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงฟื้นตัวเร็วเพียงใด

ทำให้เห็นพ้องว่าการติดเชื้อในสหรัฐฯเพิ่มขึ้นรวมไปถึงรัฐโคโลราโด และ เวอร์จีเนีย ขณะที่อุปสงค์น้ำมันดิบท่ี่อ่อนตัวเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำมัน


บริษัท เอ็มทีเอส โกลด์ จำกัด
40,42,44 ถนนทรัพย์สิน แขวงวังบูรพาภิรมย์เขตพระนคร กรุงเทพ 10200
โทรศัพท์ 0 2770 7777 โทรสาร 0 2623 9366 E-mail: support@mtsgoldgroup.com